วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

คำสรรพนาม

๗.คำสรรพนาม
 คำสรรพนาม  หมายถึง  คำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก  เช่นคำว่า  ฉัน  เรา  ดิฉัน  กระผม  กู คุณ  ท่าน  ใต้เท้า  เขา  มัน  สิ่งใด  ผู้ใด  นี่  นั่น  อะไร  ใคร  บ้าง เป็นต้น

ชนิดของคำสรรพนาม
 คำสรรพนามแบ่งออกเป็น  ๖  ชนิด ดังนี้
๑.  บุรษสรรพนาม  คือ  คำ  สรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด  แบ่งเป็นชนิดย่อยได้  3  ชนิด  คือ
 ๑.๑  สรรพนามบุรุษที่ ๑  ใช้แทนตัวผู้พูด  เช่น ผม  ฉัน  ดิฉัน  กระผม  ข้าพเจ้า กู เราข้าพระพุทธเจ้า อาตมา หม่อมฉันเกล้ากระหม่อม
 ๑.๒  สรรพนามบุรุษที่ ๒  ใช้แทนผู้ฟัง หรือผู้ที่เราพูดด้วย  เช่น  คุณ  เธอ  ใต้เท้า  ท่าน  ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ฝ่าพระบาท  พระคุณเจ้า
 ๑.๓  สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง  เขา  มัน  ท่าน  พระองค์
๒.  ประพันธสรรพนาม  คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามและใช้เชื่อมประโยคทำหน้าที่เชื่อมประโยคให้มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่คำว่า  ที่  ซึ่ง  อัน  ผู้  
๓.  นิยมสรรพนาม  คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจงหรือบอกกำหนดความให้ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจกัน ได้แก่คำว่า  นี่  นั่น  โน่น 
๔.  อนิยมสรรนาม  คือ สรรพนามใช้แทนนามบอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจงที่แน่นอนลงไป  ได้แก่คำว่า  อะไร  ใคร ไหน  ได  บางครั้งก็เป็นคำซ้ำๆ  เช่น  ใครๆ  อะไรๆ  ไหนๆ  
๕.  วิภาคสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม  ซึ่งแสดงให้เห็นว่านามนั้นจำแนกออกเป็นหลายส่วน  ได้แก่คำว่า  ต่าง  บ้าง  กัน เช่น
        -  นักเรียน"บ้าง"เรียน"บ้าง"เล่น         -  นักเรียน"ต่าง"ก็อ่านหนังสือ
๖.  ปฤจฉาสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนนามที่เป็นคำถาม ได้แก่คำว่า  อะไร  ใคร  ไหน  ผู้ใด  สิ่งใด  ผู้ใด  ฯลฯ  เช่น
        -  "ใคร" ทำแก้วแตก                             -  เขาไปที่ "ไหน"

หน้าที่ของคำสรรพนาม  มีดังนี้
๑.  เป็นประธานของประโยค เช่น
                   -  "เขา"ไปโรงเรียน                        -  "ใคร"ทำดินสอตกอยู่บนพื้น
๒.  ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค (ผู้ถูกกระทำ)  เช่น
                   -  ครูจะตี"เธอ"ถ้าเธอไม่ทำการบ้าน       -  คุณช่วยเอา"นี่"ไปเก็บได้ไหม
๓. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มหรือส่วนสมบูรณ์  เช่น
                   -  กำนันคนใหม่ของตำบลนี้คือ"เขา"นั่นเอง     -   เขาเป็น"ใคร"
๔. ใช้เชื่อมประโยคในประโยคความซ้อน  เช่น
                    -  ครูชมเชยนักเรียน"ที่"ขยัน
๕. ทำหน้าที่ขยายนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เพื่อเน้นการแสดงความรู้สึกของผู้พูด จะวางหลังคำนาม เช่น  

                   - ฉันแวะไปเยี่ยมคุณปู่"ท่าน"มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความหมาย

คำไทยแบ่งออกเป็น  7  ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกันออกไป การเรียนรู้เรื่องลักษณะของคำเพื่อสร้างเป็นกลุ่มคำและประโยคเป็นเรื่องสำ...